โครงงานคุณธรรม สพฐ. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ "แต่งกายดีเป็นศรีตระกูล"


โครงงานคุณธรรม...ตามแนวทางมูลนิธิยุวสถิรคุณ
โรงเรียนบ้านซับกระดาน (โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ)

1) ชื่อโครงงาน
“แต่งกายดีเป็นศรีตระกูล”

2) ที่มาและความสำคัญ(แรงบันดาลใจ/สภาพปัญหา/ที่มาของแนวคิด/ความดีที่อยากทำ)
          เนื่องจากปัจจุบันนักเรียน มีค่านิยมในการแต่งกาย ชุดนักเรียนที่หลายหลากมีทั้งแต่งตัวได้ถูกต้องเหมาะสมและไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนเพื่อเป็นการยกย่องและส่งเสริมนักเรียนที่ปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนในเรื่องการแต่งกาย โรงเรียนบ้านซับกระดาน จึงมีแนวคิดทำโครงงาน แต่งกายดีเป็นศรีตระกูล ขึ้นเพื่อให้นักเรียนแต่งกายได้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

3) วัตถุประสงค์ของโครงงาน
          3.1  ด้านความรู้  (Knowledge) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจกฎระเบียบของโรงเรียน
          3.2  ด้านกระบวนการปฏิบัติ  (Process) เพื่อให้นักเรียนแต่งกายได้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
          3.3 ด้านเจตคติ  (Attitude) เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีระเบียบวินัย
          3.4 เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่  9)

4) ปัญหา
          นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แต่งกายไม่ถูกระเบียบของโรงเรียน

5) สาเหตุของปัญหา
          .๑ นักเรียนชอบแต่งกายตามใจตนเอง
          .๒ นักเรียนขาดอุปกรณ์การแต่งกาย

6) กลุ่มเป้าหมาย
          - เชิงคุณภาพ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านซับกระดานแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน     
          - เชิงปริมาณ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านซับกระดาน จำนวน ๘ คน

7) ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน (๒ ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว)
           เป้าหมายระยะยาว :     เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
 เป้าหมายระยะสั้น :      เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนกันยายน ๒๕๖๑
                             เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
สถานที่ โรงเรียนบ้านซับกระดาน  .ซับสนุ่น  .มวกเหล็ก  .สระบุรี

๘) วิธีการดำเนินงาน (P D C A)
          ๘.๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
                   . นักเรียนและครูอภิปราย คิด วิเคราะห์ ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคม                       และตัวนักเรียนเอง
                   . สร้างความเข้าใจในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการแต่ง                       กายที่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
                   . ตั้งชื่อโครงงาน
                   . แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน
                   . ประชุมวางแผนกำหนดวัน เวลา ระยะเวลาในการดำเนินโครงงานเเละการประชาสัมพันธ์
                   . นำมติที่ประชุมเข้าหารือกับครูที่ปรึกษาโครงการเพื่อหาเเนวทางในการปฏิบัติงาน
          ๘.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
                   . ประชุมเพื่อรับทราบกำหนดการวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
                   . ทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยผ่านหัวหน้าห้องเรียน
                   . จัดทำรูปแบบการแต่งกายประจำวันที่ถูกระเบียบของโรงเรียน      
                   . จัดทำแบบบันทึกการแต่งกายของนักเรียน        
                   . มีการประชุมสรุปโครงงานทุกวันศุกร์นำปัญหาเเละเเนวทางป้องกันเเก้ไขจากที่ประชุมมา                       เป็นประสบการณ์การเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำโครงงานต่อไป
          ๘.๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
                   . มีประชุมสรุปงาน ประชุมเเบบประเมินงานและวิเคราะห์ถึงภาพรวมของงาน พร้อมทั้งรับ    
                       ฟังข้อเสนอแนะจากนักเรียนแกนนำ หัวหน้ากลุ่มและหัวหน้าห้องเรียนในเรื่องปัญหาที่พบ  
                       เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินงานในโครงงานถัดไป
                   . ครูที่ปรึกษาโครงงานให้การดูแล กำกับติดตาม เสนอแนะ นิเทศ ตรวจสอบการดำเนิน
                       โครงงานของนักเรียน
                   . นักเรียนแกนนำทำสรุปโครงงานส่งครูที่ปรึกษา หลังดำเนินโครงงานเสร็จสิ้น
         ๘.๔ ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act)
                   . เมื่อทราบที่มาของปัญหาให้นักเรียนแกนนำนำปัญหาหารือกับครูที่ปรึกษาโครงงาน
                             เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งนี้จะต้องมีการจดบันทึกเป็นการเสนอแนะเพื่อปรับ                          แนวทางในการเข้าร่วมโครงงานในปีถัดไป
                   . วิเคราะห์ผลการประเมินในเรื่องความสามารถและความเหมาะสมของระยะเวลาการ
                       ดำเนินงาน            
                   . วิเคราะห์ผลการประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

๙) งบประมาณและแหล่งที่มา
                   -



๑๐) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ นักเรียนปฏิบัติตนตามระเบียบของโรงเรียน มีความภาคภูมิใจและแบบอย่างที่ดีให้กับเพื่อนๆนักเรียน

๑๐.๒ นักเรียนมีจิตสำนึกของการเป็นนักเรียนและมีวินัยในตนเองมากขึ้น

๑๑) การน้อมนำ หลักธรรม/หลักการทรงงาน (พระราชดำรัส,พระบรมราโชวาท)
          ๑๑.๑ มงคล ๓๘ ประการ ข้อที่ ๙ มีวินัยที่ดี

๑๑.๒ ศาสตร์พระราชา (พระราชดำรัส,พระบรมราโชวาท)
          การมีวินัย มีความสามัคคี และรู้จักหน้าที่ ถือกันว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญประจำตัวของคนทุกคน แต่ในการสร้างเสริมคุณสมบัติ 3 ข้อนี้ จะต้องไม่ลืมว่า วินัย สามัคคี และหน้าที่นั้น เป็นได้ทั้งในทางบวกและทางลบ ซึ่งย่อมให้คุณหรือให้โทษได้มากเท่าๆ กัน ทั้ง 2 ทาง เพราะฉะนั้น เมื่อจะอบรม จำเป็นต้องพิจารณาให้ถ่องแท้แน่ชัดก่อนว่า เป็นวินัยสามัคคีและหน้าที่ดีคือ ปราศจากโทษเป็นประโยชน์ เป็นธรรม (พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ วันอังคาร 12 ก.ค.2526)

๑๒) คุณธรรมอัตลักษณ์
          ๑๒.๑ คุณธรรมเป้าหมาย
                   ความมีวินัย
          ๑๒.๒ พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
            นักเรียนแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน

๑๓) ที่ปรึกษาโครงงาน 
๑๓.๑ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวอลิสรา   คำดี
๑๓.๒ ผู้บริหารที่ปรึกษาโครงงาน  นายวีรพงษ์  ไชยหงษ์




รูปภาพกิจกรรมโครงงานคุณธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑







ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม