โครงงานคุณธรรมปี ๒๕๖๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔"พูดได้ พูดดี"








โครงงานคุณธรรม...ตามแนวทางมูลนิธิยุวสถิรคุณ
โรงเรียนบ้านซับกระดาน (โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ)
1) ชื่อโครงงาน
          “พูดได้ พูดดี”

2) ที่มาและความสำคัญของปัญหา
จากการดูแล เลี้ยงดู และการคบเพื่อน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านซับกระดาน มีการสนทนากันด้วยคำหยาบ พูดจาไม่สุภาพ พูดไม่ถูกกาลเทศะ และนักเรียนก็มีพฤติกรรมการเลียนแบบกัน
ดังนั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 จึงมีความสนใจที่จะทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดสิ้นไป  จึงได้จัดทำโครงงานคุณธรรม  เรื่อง  “พูดได้ พูดดี”ขึ้น  เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านซับกระดาน  ปีการศึกษา  256๑ จำนวน    คน มีการสนทนาด้วยคำพูดที่ไพเราะ พูดถูกกาลเทศะ

3) วัตถุประสงค์
3.1 ด้านความรู้ (Knowleadge) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทสนทนาของนักเรียน
3.2 ด้านกระบวนการปฏิบัติ  (Process)  เพื่อให้นักเรียนสนทนากันด้วยคำพูดที่สุภาพและถูกกาลเทศะ
          3.3 ด้านเจตคติ  (Attitude)  เพื่อปลูกฝังความสุภาพเรียบร้อยในการสนทนาให้กับนักเรียน
          ** 3.4 เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  9)**

4) ปัญหา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พูดไม่สุภาพ

5) สาเหตุของปัญหา
          1. การเลี้ยงดู
          2. การเลียนแบบเพื่อน
          3.การเรียกร้องความสนใจ
          4. การขาดการยับยั้งใจตนเอง

6) กลุ่มเป้าหมาย
          -  เชิงปริมาณ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านซับกระดาน  จำนวน  คน พูดจาไพเราะเสนาะหู
          -  เชิงคุณภาพ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านซับกระดานทุกคน
                            1.  มีความตระหนักถึงคุณค่าของการพูด
                             2.  นักเรียนมีการพูดไพเราะมากขึ้น



7) ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน (๒ ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว)
           เป้าหมายระยะยาว :     เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
 เป้าหมายระยะสั้น :      เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนกันยายน ๒๕๖๑
                             เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
๘) วิธีการดำเนินงาน (P D C A)
๘.๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
๑. นักเรียนและครูอภิปราย คิด วิเคราะห์ ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคมและตัวนักเรียนเอง
๒. สร้างความเข้าใจในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญในการพูด
 ๓. ตั้งชื่อโครงงาน
๔. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน
          ๕. ประชุมวางแผนกำหนดวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงานเเละการประชาสัมพันธ์
          ๖. นำมติที่ประชุมเข้าหารือกับครูที่ปรึกษาโครงการเพื่อหาเเนวทางในการปฏิบัติงาน
๘.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
๑. ประชุมเพื่อรับทราบกำหนดการวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
๒. ทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยผ่านหัวหน้าห้องเรียน
๓. คัดเลือกนักเรียนแกนนำจำนวน ๒ คน ช่วยกันติดตาม ช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่
    ยังพูดไม่ไพเราะ
๔. ประสานความร่วมมือระหว่างนักเรียนและครูผู้สอนเพื่อทำบันทึกการพูด
๕. จัดทำสมุดบันทึกการพูด
          ๖. มีการประชุมสรุปโครงงานทุกวันศุกร์นำปัญหาเเละเเนวทางป้องกัน เเก้ไขจากที่ประชุมมา
             เป็นประสบการณ์การเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำโครงงานต่อไป
๘.๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
๑. มีประชุมสรุปงาน ประชุมเเบบประเมินงานเเละวิเคราะห์ถึงภาพรวมของงาน พร้อมทั้งรับ
   ฟังข้อเสนอเเนะจากนักเรียนแกนนำ หัวหน้ากลุ่มและหัวหน้าห้องเรียนในเรื่องปัญหาที่พบ
   เพื่อหาเเนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินงานในโครงงานถัดไป
          ๒. ครูที่ปรึกษาโครงงานให้การดูแล กำกับติดตาม เสนอแนะ นิเทศ ตรวจสอบการดำเนิน
   โครงงานของนักเรียน
          ๓. นักเรียนแกนนำทำสรุปโครงงานส่งครูที่ปรึกษา หลังดำเนินโครงงานเสร็จสิ้น
๘.๔ ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act)
๑. เมื่อทราบที่มาของปัญหาให้นักเรียนแกนนำนำปัญหาหารือกับครูที่ปรึกษาโครงงาน เพื่อ
    หาแนวทางในการแก้ปัญหา ทั้งนี้จะต้องมีการจดบันทึกเป็นการเสนอเเนะเพื่อปรับ
    แนวทางในการเข้าร่วมโครงงานในปีถัดไป
          ๒. วิเคราะห์ผลการประเมินในเรื่องความสามารถและความเหมาะสมของระยะเวลาการ
    ดำเนินงาน              
          ๓. วิเคราะห์ผลการประเมิน ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

๙) วิธีการแก้ไขปัญหา
1.      สร้างความตระหนักและจิตสำนึกในความเป็นไทยให้กับนักเรียน
2.      ให้นักเรียนร่วมมือร่วมใจในการฝึกการพูดจา สนทนาด้วยคำสุภาพ
3.       ฝึกมารยาทในการพูดให้กับนักเรียน
4.       ผู้บริหาร และครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน

๑๐) หลักธรรมที่นำมาใช้
สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ วจีสุจริต 4
                   1.การงดเว้นจากการพูดเท็จ
                   2.งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
                   3.งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
                   4.งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
การบูรณาการกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          1. ความมีเหตุผล เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการพูดสนทนาและแสดงความคิดเห็นสามารถนำเสนอความคิดเห็นของตนเองอย่างมีเหตุผล
          2. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี นักเรียนรู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น  มีมารยาทในการพูดสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  สามารถนำเอาความรู้  หลักการพูดสนทนา  ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เงื่อนไข
          1.  นักเรียนมีความรู้  ความเข้าใจความหมายของการสนทนา  หลักการพูดสนทนา
มารยาทในการสนทนา
          2. เงื่อนไขคุณธรรม  นักเรียนมีมารยาทในการพูด  มีมารยาทในการฟัง  รู้จักรักษาเวลาในการพูด  ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น  รู้จักให้เกียรติผู้อื่น  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย  มีความสามัคคีช่วยเหลือกัน  ได้ทำงานเป็นกลุ่มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อส่วนรวมในสังคมปัจจุบัน

1๑) วิธีการวัดและประเมินผล
          10.1  วิธีการวัดผล 
วิธีการประเมิน                       :  การสังเกต
          10.2  เครื่องมือการวัดผล 
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน        :  แบบบันทึก
         10.3  ช่วงระยะเวลา 
ช่วงเวลาการประเมิน                :   วันละ  1  ครั้ง

๑๒) คุณธรรมอัตลักษณ์
เชื่อมโยงกับคุณธรรมเป้าหมาย : ความสุภาพ
พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก : ผู้บริหารและครูมีการปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของการสนนา คำพูด และเอาใจใส่ในให้นักเรียนในการเรียนการสอน การปฏิบัติตนของนักเรียน นักเรียนสนทนากันด้วยคำพูดที่สุภาพเรียบร้อย ไม่พูดจาด้วยคำหยาบคายเป็นประจำทุกวันและต่อเนื่อง

๑๓) ที่ปรึกษาโครงงาน 
๑๓.๑ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางณหทัย มีเหมือน    
๑๓.๒ ผู้บริหารที่ปรึกษาโครงงาน  นายวีรพงษ์  ไชยหงษ์

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม