โครงงานคุณธรรมปี ๒๕๖๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ "เศรษฐ๊น้อยร้อยบาท"


โครงงานคุณธรรม
๑.ชื่อโครงงาน  เศรษฐีน้อยร้อยบาท

๒. ที่มาและความสำคัญ(แรงบันดาลใจ/สภาพปัญหา/ที่มาของแนวคิด/ความดีที่อยากทำ)
          ในปัจจุบันผู้คนมีการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน คือฟุ่มเฟือย ยึดติดกับวัตถุนิยมและยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งทำให้ขาดคุณธรรมในการดำเนินชีวิต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จึงได้จัดทำโครงงานส่งเสริมความประหยัดพอเพียงเพื่อให้ความรู้ยึดหลักความพอเพียง การบันทึกบัญชี รายรับ รายจ่าย รวมถึงเสริมสร้างลักษณะนิสัยแห่งการออม โดยกระตุ้นให้นักเรียนฝากออมทรัพย์ทุกวันเพื่อให้มีเงินสะสมไว้ใช้จ่ายในอนาคต การออมถือเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต
๓.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
          ๓.๑ เพื่อปลูกฝังความรู้ในเรื่องความประหยัดพอเพียง
๓.๒ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจในการปฏิบัติตนโดยเน้นความพอเพียง เพื่อส่งเสริมความประหยัดพอเพียง
๔. กลุ่มเป้าหมาย  (ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ)
๔.๑ เชิงคุณภาพ
๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีความรู้ ภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจและปัญญาให้นักเรียนได้มีจิตสำนึกในการปฏิบัติตนโดยเน้นความพอเพียง เพื่อส่งเสริมความประหยัดพอเพียง
          ๔.๑ เชิงปริมาณ
๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๑๒ คน
๕. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน (๒ ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว)
เป้าหมายระยะยาว :      เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
โดยมีการบูรณาการในวิชาสังคมศึกษา
เป้าหมายระยะสั้น :       เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนกันยายน ๒๕๖๑                         
                             เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
          สถานที่ โรงเรียนบ้านซับกระดาน

๖. วิธีการดำเนินงาน (P D C A)
๖.๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
๑. นักเรียนร่วมกันอภิปราย คิด วิเคราะห์ ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคมและตัวนักเรียนเอง
๒. สร้างความเข้าใจ่ร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการประหยัดพอเพียง
๓. ตั้งชื่อโครงงาน
๔. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน
          ๕. ประชุมวางแผนกำหนดวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
          ๖. นำมติที่ประชุมเข้าหารือกับครูที่ปรึกษาเพื่อหาเเนวทางในการปฏิบัติงาน
๖.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
๑. ประชุมเพื่อรับทราบกำหนดการวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
๒. กิจกรรมโครงงานเศรษฐีน้อยร้อยบาท ดังนี้
  -    ปิดน้ำและไฟทุกครั้งหลังเลิกใช้
  -    มีบัญชีรายรับ รายจ่าย
  -    มีสมุดออมเงิน
๓. ปฏิบัติงานจริง เเละเเก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
          ๔. มีการประชุมสรุปโครงงานทุกวันศุกร์นำปัญหาเเละเเนวทางป้องกันเเก้ไขจากที่ประชุมมาเป็นประสบการณ์การเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำโครงงานต่อไป
๖.๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
๑. มีประชุมสรุปงาน ประชุมเเบบประเมินงานเเละวิเคราะห์ถึงภาพรวมของงาน พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอเเนะจากครูที่ปรึกษาในเรื่องปัญหาที่พบ เพื่อหาเเนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินงานในโครงงานถัดไป
          ๒. ครูที่ปรึกษาโครงงานให้การดูแล กำกับติดตาม เสนอแนะ นิเทศ ตรวจสอบการดำเนินโครงงานของนักเรียน
          ๓. นักเรียนช่วยกันสรุปโครงงานส่งครูที่ปรึกษา หลังดำเนินโครงงานเสร็จสิ้น

๖.๔ ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act)
๑. เมื่อทราบที่มาของปัญหาให้นักเรียนช่วยกันปรึกษาปัญหาหารือกับครูที่ปรึกษาโครงงาน เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งนี้จะต้องมีการจดบันทึกเป็นการเสนอเเนะเพื่อปรับแนวทางในการเข้าร่วมโครงงานในปีถัดไป
          ๒. วิเคราะห์ผลการประเมินในเรื่องความสามารถและความเหมาะสมของระยะเวลาการดำเนินงาน                  
          ๓. วิเคราะห์ผลการประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
๗.งบประมาณและแหล่งที่มา
          -
๘.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๘.๑ นักเรียนได้รับการปลูกฝังความรู้ในเรื่องความประหยัดพอเพียง
๘.๒ นักเรียนมีจิตสำนึกในการปฏิบัติตนโดยเน้นความพอเพียง เพื่อส่งเสริมความประหยัดพอเพียง
๙.การน้อมนำ หลักธรรม/หลักการทรงงาน (พระราชดำรัช,พระบรมชาโอวาท)
๙.๑ หลักการทรงงาน
รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไข ปรับปรุง โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากมากนัก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “…ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกโดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติจะได้ประหยัดงบประมาณ…”
๙.๒ ศาสตร์พระราชา (พระราชดำรัช,พระบรมชาโอวาท)
          -

๑๐. คุณธรรมอัตลักษณ์
          ๑๐.๑ คุณธรรมเป้าหมาย
                    พอเพียง
          ๑๐.๒ พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
                   -    ปิดน้ำและไฟทุกครั้งหลังเลิกใช้
                   -    มีบัญชีรายรับ รายจ่าย
                   -    มีสมุดออมเงิน

๑๑.ที่ปรึกษาโครงงาน 
นางณหทัย มีเหมือน







ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม