โครงงานคุณธรรม สพฐ. ปี ๒๕๖๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ "ส่งครบ จบแน่"


โครงงานคุณธรรม...ตามแนวทางมูลนิธิยุวสถิรคุณ
โรงเรียนบ้านซับกระดาน (โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ)
1) ชื่อโครงงาน
“ส่งครบ  จบแน่”

2) ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ในการเรียนวิชาต่างๆนั้น ครูทุกระดับชั้นมักจะสั่งงานเพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนและเก็บเป็นคะแนน แต่พบว่านักเรียนไม่ตั้งใจทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด นักเรียนไม่ตระหนักถึงคุณค่าของการทำงานให้แล้วเสร็จ ขาดความร่วมมือจากเพื่อนในชั้นเรียน เป็นผลให้นักเรียนไม่เข้าใจบทเรียนและผลการเรียนยังไม่ดีเท่าที่ควร หากนักเรียนส่งงานตามกำหนดเวลาจะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียนและมีผลการเรียนที่ดีขึ้น และนอกจากนี้การส่งเสริมคุณธรรมในเรื่องความรับผิดชอบ โรงเรียนบ้านซับกระดาน จึงมีแนวคิดทำโครงงาน”ส่งครบ จบแน่”ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการไม่ส่งงานและส่งเสริมคุณธรรมความรับผิดชอบ

3) วัตถุประสงค์
3.1  ด้านความรู้(Knowledge) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบ
3.2  ด้านกระบวนการปฏิบัติ(Process) เพื่อให้นักเรียนทุกคนส่งงานตามเวลาที่กำหนด
             3.3  ด้านเจตคติ(Attitude) เพื่อปลูกฝัง สร้างความตระหนักและจิตสำนึกในการมีความรับผิดชอบ
          **3.4  เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  9)**

4) ปัญหา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ส่งงานไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด

5) สาเหตุของปัญหา
5.1  ขาดการติดตามงานและความร่วมมือจากครูและเพื่อนในชั้นเรียน
5.2  นักเรียนไม่ตั้งใจทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด
5.3  นักเรียนไม่ตระหนักถึงคุณค่าของการทำงานให้แล้วเสร็จ
6) กลุ่มเป้าหมาย
          -  เชิงปริมาณ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านซับกระดาน  จำนวน 8 คน ส่งงานครบถ้วนตรงเวลา
          -  เชิงคุณภาพ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านซับกระดานทุกคน
                            1.  มีความตระหนักถึงคุณค่าของการทำงานให้แล้วเสร็จ
                             2.  นักเรียนมีความรับผิดชอบในการส่งงานครบถ้วนตรงเวลา
                             3.  นักเรียนช่วยเหลือติดตามงานที่ค้างส่งของนักเรียนในชั้น
7) ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน (๒ ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว)
           เป้าหมายระยะยาว :     เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
 เป้าหมายระยะสั้น :      เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนกันยายน ๒๕๖๑
                             เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
๘) วิธีการดำเนินงาน (P D C A)
๘.๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
๑. นักเรียนและครูอภิปราย คิด วิเคราะห์ ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคมและตัวนักเรียนเอง
๒. สร้างความเข้าใจในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการส่งงานตรงเวลา
๓. ตั้งชื่อโครงงาน
๔. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน
          ๕. ประชุมวางแผนกำหนดวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงานเเละการประชาสัมพันธ์
          ๖. นำมติที่ประชุมเข้าหารือกับครูที่ปรึกษาโครงการเพื่อหาเเนวทางในการปฏิบัติงาน
๘.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
๑. ประชุมเพื่อรับทราบกำหนดการวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
๒. ทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยผ่านหัวหน้าห้องเรียน
๓. คัดเลือกนักเรียนแกนนำจำนวน ๒ คน ช่วยกันติดตาม ช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่
    ยังมีงานค้างส่ง
๔. ประสานความร่วมมือระหว่างนักเรียนและครูผู้สอนเพื่อทำบันทึกการส่งงานนักเรียน
๕. จัดทำสมุดบันทึกการส่งงาน
          ๖. มีการประชุมสรุปโครงงานทุกวันศุกร์นำปัญหาเเละเเนวทางป้องกัน เเก้ไขจากที่ประชุมมา
             เป็นประสบการณ์การเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำโครงงานต่อไป
๘.๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
๑. มีประชุมสรุปงาน ประชุมเเบบประเมินงานเเละวิเคราะห์ถึงภาพรวมของงาน พร้อมทั้งรับ
   ฟังข้อเสนอเเนะจากนักเรียนแกนนำ หัวหน้ากลุ่มและหัวหน้าห้องเรียนในเรื่องปัญหาที่พบ
   เพื่อหาเเนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินงานในโครงงานถัดไป
          ๒. ครูที่ปรึกษาโครงงานให้การดูแล กำกับติดตาม เสนอแนะ นิเทศ ตรวจสอบการดำเนิน
   โครงงานของนักเรียน
          ๓. นักเรียนแกนนำทำสรุปโครงงานส่งครูที่ปรึกษา หลังดำเนินโครงงานเสร็จสิ้น
๘.๔ ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act)
๑. เมื่อทราบที่มาของปัญหาให้นักเรียนแกนนำนำปัญหาหารือกับครูที่ปรึกษาโครงงาน เพื่อ
    หาแนวทางในการแก้ปัญหา ทั้งนี้จะต้องมีการจดบันทึกเป็นการเสนอเเนะเพื่อปรับ
    แนวทางในการเข้าร่วมโครงงานในปีถัดไป
          ๒. วิเคราะห์ผลการประเมินในเรื่องความสามารถและความเหมาะสมของระยะเวลาการ
    ดำเนินงาน              
          ๓. วิเคราะห์ผลการประเมิน ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

๙) งบประมาณและแหล่งที่มา
                   -


๑๐) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๘.๑ นักเรียนมีความตระหนักถึงคุณค่าของการทำงานให้แล้วเสร็จ
๘.๒ นักเรียนมีความรับผิดชอบในการส่งงานครบถ้วนตรงเวลา
๘.๓ นักเรียนช่วยเหลือติดตามงานที่ค้างส่งของนักเรียนในชั้น

๑๑) การน้อมนำ หลักธรรม/หลักการทรงงาน (พระราชดำรัส,พระบรมราโชวาท)
๑๑.๑ หลักธรรม
อิทธิบาท ๔
- ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ
- วิริยะ หมายถึง ความพากเพียร
- จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่
- วิมังสา หมายถึง ความสอดส่องในเหตุและผล
๑๑.๒ ศาสตร์พระราชา (พระราชดำรัส,พระบรมราโชวาท)
  การจะทำงานให้มีประสิทธิผลและให้ดำเนินไปได้โดยราบรื่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องทำด้วยความรับผิดชอบอย่างสูง ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่บิดเบือนจุดประสงค์ที่แท้จริงของงาน สำคัญที่สุด ต้องเข้าใจความหมายของคำว่า "ความรับผิดชอบ" ให้ถูกต้อง ขอให้เข้าใจว่า "รับผิด" ไม่ใช่การรับโทษ หรือถูกลงโทษ "รับชอบ" ไม่ใช่รับรางวัล หรือรับคำชมเชย การรู้จักรับผิด หรือยอมรับรู้ว่าอะไรผิดพลาดเสียหาย และเสียหายเพราะอะไร เพียงใดนั้น มีประโยชน์ทำให้บุคคลรู้จักพิจารณาตนเอง ยอมรับความผิดของตนเองโดยใจจริง เป็นทางที่จะช่วยให้แก้ไขความผิดได้ และให้รู้ว่าจะต้องปฏิบัติแก้ไขใหม่ ส่วนการรู้จักรับชอบ หรือรู้ว่าอะไรถูก อันได้แก่ถูกตามความมุ่งหมาย ถูกตามหลักวิชา ถูกตามวิธีการนั้น มีประโยชน์ทำให้ทราบแจ้งว่า จะทำให้งานสำเร็จสมบูรณ์ได้อย่างไร จักได้ถือปฏิบัติต่อไป นอกจากนั้น เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่า "รับผิดชอบ" ตามนัยดังกล่าวแล้ว ผู้ที่เข้าใจซึ้งในความรับผิดชอบ จะสำนึกตระหนักได้ทันทีว่า ความรับผิดชอบคือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำ จะหลีกเลี่ยงละเลยไม่ได้ จึงใคร่ขอให้บัณฑิตศึกษาและสังวรระวังในความรับผิดชอบให้มากที่สุด ผู้ใดมีความรับผิดชอบ จะสามารถประกอบการงานให้บรรลุผลสำเร็จ ตามที่มุ่งหมายไว้ได้อย่างแน่นอน
 (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๙)

๑๒) คุณธรรมอัตลักษณ์
          ๑๒.๑ คุณธรรมเป้าหมาย
                   ความรับผิดชอบ
          ๑๒.๒ พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
                   ส่งงานครบถ้วนตรงเวลา

๑๓) ที่ปรึกษาโครงงาน 
๑๓.๑ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาววันทนีย์  ส้มเกลี้ยง
๑๓.๒ ผู้บริหารที่ปรึกษาโครงงาน  นายวีรพงษ์  ไชยหงษ์





ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม