โครงงานคุณธรรม สพฐ. ชั้นอนุบาล ๑-๓ "ยิ้มง่าย ไหว้สวย"
โครงงานคุณธรรม...มูลนิธิยุวสถิรคุณ
โรงเรียนบ้านซับกระดาน
(โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ)
1.) ชื่อโครงงาน
“ยิ้มง่ายไหว้สวย”
2.) ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การยิ้ม
การไหว้และทักทายเป็นวัฒนธรรมไทยที่มีสืบทอดกันอย่างยาวนาน
การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้วยการยิ้ม การไหว้ และการทักทาย
จะเป็นผลให้สามารถจัดระบบชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมให้ผู้ที่พบเห็นมีความชื่นชมรักใคร่เอ็นดูเพราะเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนที่เป็นรูปธรรมสามารถแสดงถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนักเรียนชั้นอนุบาล1-3 โรงเรียนบ้านซับกระดาน
จึงได้ตระหนักถึงคุณค่าของมารยาทการยิ้ม การไหว้ และการทักทาย จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการนี้ขึ้น
3.4 วัตถุประสงค์
3.1
ด้านความรู้ (Knowledge)
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการไหว้ที่ถูกต้อง
3.2
ด้านกระบวนการปฏิบัติ (Process)
เพื่อให้นักเรียนมีการไหว้ที่ถูกต้องตามประเพณี
3.3 ด้านเจตคติ (Attitude)
เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจริยธรรม
3.4
เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่9)
4.) ปัญหา
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่
1-3 ไหว้ไม่เป็น
5.) ปัญหาของสาเหตุ
1.นักเรียนไม่รู้จักวิธีการไหว้และทักทายที่ถูกต้อง
2.นักเรียนมีความเขินขายที่จะไหว้และทักทาย ครูอาจารย์
แขกผู้มาเยือน พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่
3.นักเรียนไม่รู้จักวิธีการทำความเคารพที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อครูอาจารย์และผู้ใหญ่
6.) กลุ่มเป้าหมาย
-
เชิงปริมาณ : นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่
1-3 โรงเรียนบ้านซับกระดาน จำนวน 19 คน
-
เชิงคุณภาพ : นักเรียนโรงเรียนบ้านซับกระดานมีการไหว้และการทักทายได้ถูกต้องเหมาะสมและสวยงาม
-
เป้าหมายระยะสั้น(ระยะเวลา 6 เดือน) นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3
โรงเรียนบ้านซับกระดานมีนิสัยในการการไหว้และการทักทายได้ถูกต้องเหมาะสมและสวยงาม
-
เป้าหมายระยะยาว(ระยะเวลา 12 เดือน)
นักเรียนอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมการไหว้อันงดงามตามอย่างไทยให้อยู่คู่กับนักเรียนโรงเรียนบ้านซับกระดาน
7.) วิธีการแก้ปัญหา
ขั้นตอนการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข
1.
สมาชิกในกลุ่มรวมกลุ่มระดมความคิดหาปัญหาที่มีอยู่ในโรงเรียน ปัญหาที่พบและเลือกที่จะแก้ไขคือ
เรื่องการทักทายและการไหว้แสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่
2.
นำปัญหาที่ได้ไปปรึกษาครูที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะเกี่ยวกับวิธีการไหว้และทักทายที่ถูกวิธีตามแบบอย่างของไทย
ขั้นตอนการฝึกซ้อม
3.
นักเรียนแกนนำฝึกซ้อมการไหว้จนถูกต้องและชำนาญ
4. จากนั้นนักเรียนแกนนำสอนเพื่อนในกลุ่มให้ทำเป็นจนเกิดความชำนาญ
ขั้นขยายผลในโรงเรียน
5.
โดยนักเรียนแกนนำทำเป็นแบบอย่างในยามเช้าหลังกิจกรรมหน้าเสาธงของทุกเช้าวันพฤหัสบดีพร้อมเชิญชวนให้ทุกไหว้และทักทายด้วยกันทั้งโรงเรียน
6.
นักเรียนทุกคนร่วมกันฝึกซ้อม
7. นักเรียนทำกิจกรรมน้องไหว้พี่
นักเรียนไหว้ครูทุกเช้าหลังกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติเสร็จสิ้น
จนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน
8.) หลักการและหลักธรรมที่นำมาใช้
อิทธิบาท 4 คือ
1. ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในการทำความดี
2. วิริยะ คือ พากเพียรในการกระทำที่ต่อเนื่องไม่ขาดตอนเป็นระยะยาวจนสำเร็จ
3. จิตตะ คือ
ความไม่ทอดทิ้งสิ่งที่ทำนั้น ให้เด่นชัดอยู่ในใจเสมอ
4. วิมังสา คือ
สอดส่องในเหตุผลแห่งความสำเร็จ
9.) ความเชื่อมโยงสู่อัตลักษณ์
ความเชื่อมโยงกับคุณธรรมเป้าหมาย
: ความสุภาพ
ผู้บริหารและครูปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมการไหว้ทักทายได้เหมาะสมทุกวัน
ปฏิบัติตนของนักเรียนในเรื่องการไหว้ทักทายได้ถูกต้องตามประเพณีไทย
10.) วิธีการวัดและประเมินผล
10.1 วิธีการประเมินผล
: แบบสังเกต
10.2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน : แบบสังเกต
10.3 ช่วงระยะเวลา
ช่วงเวลาการประเมิน : สัปดาห์ละ 1
ครั้ง
11) ผู้รับผิดชอบโครงงาน
นักเรียนชั้นอนุบาล
1-3 จำนวน 19 คน
12) ที่ปรึกษาโครงงาน
นายเฉลิมรัตน์ มุสิกะทัน ครูประจำชั้นอนุบาล
1-3ภาพกิจกรรม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น