โครงงานคุณธรรม สพฐ. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ "ของหายได้คืน"
โครงงานคุณธรรม...ตามแนวทางมูลนิธิยุวสถิรคุณ
โรงเรียนบ้านซับกระดาน
(โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ)
๑)
ชื่อโครงงาน
“ของหายได้คืน”
๒)
ที่มาและความสำคัญ(แรงบันดาลใจ/สภาพปัญหา/ที่มาของแนวคิด/ความดีที่อยากทำ)
ในสังคมปัจจุบันความซื่อสัตย์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
อีกทั้งยังเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติให้เกิดเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์
นักเรียนโรงเรียนบ้านซับกระดาน ได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในหลายๆด้าน
ซึ่งคุณธรรมเรื่องความซื่อสัตย์นั้นเป็นสิ่งที่ยังเห็นภาพการปฏิบัติได้ไม่ชัดเจน
จนบางครั้งนักเรียนมองข้ามพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์ไป โรงเรียนบ้านซับกระดาน จึงมีแนวคิดทำโครงงาน
“ของหายได้คืน” ขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ปลูกฝังคุณธรรมเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตได้
๓)
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
๓.๑
ด้านความรู้ (Knowledge) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
และความซื่อสัตย์
๓.๒ ด้านกระบวนการปฏิบัติ (Process) เพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติตนให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริตและสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตได้
๓.๓ ด้านเจตคติ
(Attitude) เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต
๓.๔ เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(รัชกาลที่ ๙)
๔)
ปัญหา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ของหายแต่ไม่มีผู้นำส่งคืน
๕)
สาเหตุของปัญหา
๕.๑ นักเรียนมีความอยากได้ของผู้อื่น
๖)
กลุ่มเป้าหมาย
- เชิงคุณภาพ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๒ โรงเรียนบ้านซับกระดานปฏิบัติตนให้เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์
- เชิงปริมาณ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านซับกระดาน จำนวน ๕ คน
๗)
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน (๒ ระยะ คือ
ระยะสั้นและระยะยาว)
เป้าหมายระยะยาว :
เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
เป้าหมายระยะสั้น : เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนกันยายน ๒๕๖๑
เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ –
เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
สถานที่
โรงเรียนบ้านซับกระดาน ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
๘)
วิธีการดำเนินงาน (P D C A)
๘.๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
๑. นักเรียนและครูอภิปราย คิด วิเคราะห์
ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคม และตัวนักเรียนเอง
๒. สร้างความเข้าใจในโรงเรียน
เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการแสดง พฤติกรรมที่ดีที่สมควรแก่การเป็นแบบอย่าง
ความภาคภูมิใจในการทำความดี
๓. ตั้งชื่อโครงงาน
๔. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน
๕. ประชุมวางแผนกำหนดวัน เวลา
ระยะเวลาในการดำเนินโครงงานเเละการประชาสัมพันธ์
๖.
นำมติที่ประชุมเข้าหารือกับครูที่ปรึกษาโครงการเพื่อหาเเนวทางในการปฏิบัติงาน
๘.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
๑. ประชุมเพื่อรับทราบกำหนดการวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
๒. ทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยผ่านหัวหน้าห้องเรียน
๓. จัดทำสมุดบันทึกของหายได้คืน
โดยทุกครั้งที่มีการจดบันทึกครูเวรประจำวันจะประกาศ
ชื่อนักเรียนที่ทำความดี เพื่อเป็นการชื่นชมนักเรียนที่กระทำความดี
๔. ปฏิบัติงานจริง เเละเเก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
๕.
มีการประชุมสรุปโครงงานทุกวันศุกร์นำปัญหาเเละเเนวทางป้องกันเเก้ไขจากที่ประชุมมา เป็นประสบการณ์การเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำโครงงานต่อไป
๘.๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
๑. มีประชุมสรุปงาน ประชุมเเบบประเมินงานและวิเคราะห์ถึงภาพรวมของงาน
พร้อมทั้งรับ
ฟังข้อเสนอแนะจากนักเรียนแกนนำ
หัวหน้ากลุ่มและหัวหน้าห้องเรียนในเรื่องปัญหาที่พบ
เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินงานในโครงงานถัดไป
๒. ครูที่ปรึกษาโครงงานให้การดูแล กำกับติดตาม เสนอแนะ นิเทศ
ตรวจสอบการดำเนิน
โครงงานของนักเรียน
๓. นักเรียนแกนนำทำสรุปโครงงานส่งครูที่ปรึกษา หลังดำเนินโครงงานเสร็จสิ้น
๘.๔
ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act)
๑.
เมื่อทราบที่มาของปัญหาให้นักเรียนแกนนำนำปัญหาหารือกับครูที่ปรึกษาโครงงาน
เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งนี้จะต้องมีการจดบันทึกเป็นการเสนอแนะเพื่อปรับ แนวทางในการเข้าร่วมโครงงานในปีถัดไป
๒. วิเคราะห์ผลการประเมินในเรื่องความสามารถและความเหมาะสมของระยะเวลาการ
ดำเนินงาน
๓.
วิเคราะห์ผลการประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
๙)
งบประมาณและแหล่งที่มา
-
๑๐)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ นักเรียนได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์
๑๐.๒ นักเรียนฝึกปฏิบัติตนให้เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์
๑๑)
การน้อมนำ หลักธรรม/หลักการทรงงาน (พระราชดำรัส,พระบรมราโชวาท)
๑๑.๑ ฆราวาสธรรม ๔ ธรรมของผู้ครองเรือนผู้มีคุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก
ประกอบด้วย
๑. สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน
๒. ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจบังคับตัวเองเพื่อลดละกิเลส
รักษาสัจจะ
๓. ขันติ แปลว่า อดทน อดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส
๔. จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลส
๑๑.๒ ศาสตร์พระราชา (พระราชดำรัส,พระบรมราโชวาท)
“คนที่ไม่มีความสุจริต
คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย
ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้
ผู้ที่มีความสุจริตแลละความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญ ยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ
เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ” (พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๒
กรกฎาคม ๒๕๒๒)
๑๒)
คุณธรรมอัตลักษณ์
๑๒.๑
คุณธรรมเป้าหมาย
ความซื่อสัตย์
๑๒.๒ พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
๑. นักเรียนขออนุญาตทุกครั้งก่อนหยิบของผู้อื่น
๒. นักเรียนคืนสิ่งของผู้อื่นเมื่อใช้เสร็จแล้ว
๑๓)
ที่ปรึกษาโครงงาน
๑๓.๑ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวอลิสรา คำดี
๑๓.๒
ผู้บริหารที่ปรึกษาโครงงาน นายวีรพงษ์ ไชยหงษ์
รูปภาพกิจกรรมโครงงานคุณธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่
๒
x
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น