โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ "สานสายใยรัก ด้วยภักดี"


โครงงานคุณธรรม...ตามแนวทางมูลนิธิยุวสถิรคุณ
โรงเรียนบ้านซับกระดาน (โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ)

๑. ชื่อโครงงาน
          “สานสายใยรักด้วยภักดี
๒. ที่มาและความสำคัญ(แรงบันดาลใจ/สภาพปัญหา/ที่มาของแนวคิด/ความดีที่อยากทำ)
          ความกตัญญูมี ๓ ลักษณะ คือ กตัญญูด้วยจิตใจ กตัญญูด้วยวาจา และกตัญญูด้วยการให้ตอบแทน ดังนั้นการรู้จักกตัญญูของคน ถือเป็นคุณสมบัติหนึ่งของคนดีซึ่งสังคมยกย่อง ส่วนการตอบแทนผู้มีพระคุณนั้นมีหลายแบบ ความคิดเทิดทูนในทางที่ดี การใช้วาจางดงามยกย่องให้เกียรติ และการตอบแทนด้วยเงินทอง สิ่งของ ซึ่งกระทำต่อผู้มีพระคุณ ล้วนถือเป็นการแสดงความกตัญญู ดังนั้น ความคิดที่ว่าต้องจ่ายเงินตอบแทนพระคุณหรือทำงานทดแทนคุณ มิใช่วิธีเดียวของการแสดงความกตัญญู  แม้ไม่มีเงินทอง สิ่งของก็อาจตอบแทนด้วยวาจาไพเราะหรือจิตใจที่ดีงามในการคิดถึงผู้มีพระคุณได้ อีกอย่างหนึ่ง
          จากความสำคัญดังกล่าวในปีการศึกษา ๒๕๖๑  โรงเรียนบ้านซับกระดาน ได้เล็งเห็นคุณธรรมด้านความกตัญญู เพราะทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่  ขาดความกตัญญู  ขาดสำนึกในการเป็นลูก  เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  จึงได้สนใจจัดทำโครงงานขึ้นเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็กรุ่นใหม่  หันมาสนใจดูแลญาติผู้ใหญ่ เป็นลูกที่ดี  พลเมืองดีของชาติ เพื่อให้นักเรียนมีความกตัญญูต่อบุพการี ต่อญาติผู้ใหญ่ ต่อไป
๓.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
          ๓.๑  ด้านความรู้  (Knowledge)  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความกตัญญู
๓.๒  ด้านกระบวนการปฏิบัติ  (Process) เพื่อให้เรียนได้ตระหนักในคุณธรรมของลูก คือ ความกตัญญูกตเวที ได้ตอบแทนพระคุณพ่อแม่โดยการนวดรักษาอาการปวดเมื่อย
๓.๓ ด้านเจตคติ  (Attitude)  เพื่อปลูกฝังความกตัญญู สร้างความตระหนักและจิตสำนึกในความกตัญญูให้กับนักเรียน
๓.๔ เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่  ๙) 
๔. ปัญหา
 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ไม่กล้าแสดงออกด้านความกตัญญู
๕. สาเหตุของปัญหา
๑. นักเรียนขาดความกตัญญู
๒. นักเรียนไม่เข้าใจในเรื่องความกตัญญู
๖. กลุ่มเป้าหมาย  (ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ)
๖.๑ เชิงคุณภาพ
              ๑. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านซับกระดานมีความกตัญญูทั้งในโรงเรียน  ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
          ๖.๒ เชิงปริมาณ
              ๑. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านซับกระดาน  จำนวน ๗ คน

๗. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน (๒ ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว)
เป้าหมายระยะยาว :      เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
เป้าหมายระยะสั้น :       เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ – เดือนกันยายน ๒๕๖๑                         
                             เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๒
          สถานที่ โรงเรียนบ้านซับกระดาน  .ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
๘. วิธีการดำเนินงาน (P D C A)
๘.๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
๑. นักเรียนและครูอภิปราย คิด วิเคราะห์ ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคมและตัวนักเรียนเอง
๒. สร้างความเข้าใจในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของความกตัญญู
๓. ตั้งชื่อโครงงาน
๔. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน
          ๕. ประชุมวางแผนกำหนดวัน เวลา ระยะเวลาในการดำเนินโครงงานเเละการประชาสัมพันธ์
          ๖. นำมติที่ประชุมเข้าหารือกับครูที่ปรึกษาโครงการเพื่อหาเเนวทางในการปฏิบัติงาน
๘.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
๑) ประชุมเพื่อรับทราบกำหนดการวัน เวลา เเละระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
๒) ทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยผ่านหัวหน้าห้องเรียน แต่ละห้อง
๓) กิจกรรมโครงงานส่งเสริมความกตัญญู ดังนี้
          - เด็กกตัญญูแทนคุณแผ่นดิน
          - กิจกรรมโครงงาน “มาสซาจสานรัก”
                   - กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ยาหม่องสมุนไพร          
          ๔) ปฏิบัติงานจริง เเละเเก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
                    ๕) มีการประชุมสรุปโครงงานทุกวันศุกร์นำปัญหาเเละเเนวทางป้องกันเเก้ไขจากที่ประชุมมา     เป็นประสบการณ์การเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำโครงงานต่อไป
๘.๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
๑) มีประชุมสรุปงาน ประชุมเเบบประเมินงานเเละวิเคราะห์ถึงภาพรวมของงาน พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอเเนะจากนักเรียนแกนนำ หัวหน้ากลุ่มและหัวหน้าห้องเรียนในเรื่องปัญหาที่พบ เพื่อหาเเนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินงานในโครงงานถัดไป
          ๒) ครูที่ปรึกษาโครงงานให้การดูแล กำกับติดตาม เสนอแนะ นิเทศ ตรวจสอบการดำเนิน
   โครงงานของนักเรียน
          ๓) นักเรียนแกนนำทำสรุปโครงงานส่งครูที่ปรึกษา หลังดำเนินโครงงานเสร็จสิ้น
๘.๔ ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act)
๑) เมื่อทราบที่มาของปัญหาให้นักเรียนแกนนำนำปัญหาหารือกับครูที่ปรึกษาโครงงาน
    เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งนี้จะต้องมีการจดบันทึกเป็นการเสนอเเนะเพื่อปรับ               แนวทางในการเข้าร่วมโครงงานในปีถัดไป
          ๒) วิเคราะห์ผลการประเมินในเรื่องความสามารถและความเหมาะสมของระยะเวลาการ
    ดำเนินงาน            
          ๓) วิเคราะห์ผลการประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
๙.งบประมาณและแหล่งที่มา
          -
๑๐.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ นักเรียนได้รับการปลูกฝังความรู้ในเรื่องความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
๑๐.๒ นักเรียนกล้าแสดงออกในความกตัญญูโดยใช้การนวดให้กับผู้ปกครองหลังเลิกงาน
๑๐.๓ สังคมมีความชื่นชมยินดีมีความสุขเมื่อเห็นนักเรียนส่วนมากมีความกตัญญู
๑๑.การน้อมนำ หลักธรรม/หลักการทรงงาน (พระราชดำรัส, พระบรมราโชวาท)
       ๑๑.๑ มงคล ที่ ๒๕  มีความกตัญญู มงคลชีวิต ๓๘ ประการ ฉบับทางก้าวหน้า
คนตาบอด ย่อมมองไม่เห็นโลก
แม้ดวงอาทิตย์จะส่องสว่างอยู่ฉันใด
คนใจบอด ย่อมมองไม่เห็นพระคุณ
แม้จะได้รับความเมตตากรุณาจากผู้มีอุปการคุณฉันนั้น
        ๑๑.๒ ศาสตร์พระราชา (พระราชดำรัส, พระบรมราโชวาท)
  “ความกตัญญูกตเวที คือ สภาพจิตที่รับรู้ความดี และยินดีที่จะกระทำความดีโดยศรัทธามั่นใจ คนมีกตัญญูจึงไม่ลบล้างทำลายความดี และไม่ลบหลู่ผู้ที่ได้ทำความดีมาก่อน หากเพียรพยายามรักษาความดีทั้งปวงไว้ให้เป็นพื้นฐานในความประพฤติปฏิบัติทุกอย่างของตนเอง เมื่อเต็มใจและจงใจกระทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความดีดังนี้ ก็ย่อมมีแต่ความเจริญมั่นคงและรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งสำหรับนักพัฒนาและผู้ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าทุกคน
๑๒. คุณธรรมอัตลักษณ์
          ๑๒.๑ คุณธรรมเป้าหมาย
                   ความกตัญญู
          ๑๒.๒ พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
                   ๑. นักเรียนแสดงความสำนึก/แสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                   ๒. นักเรียนช่วยงานบ้าน
                   ๓. นักเรียนตั้งใจเรียน
๑๓.ที่ปรึกษาโครงงาน (ครู /อาจารย์, ผู้บริหาร)
๑๓.๑ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวดวงพร ศรีวะรมย์
๑๓.๒ ผู้บริหารที่ปรึกษาโครงงาน นายวีรพงษ์ ไชยหงษ์







ภาพกิจกรรมโครงงานคุณธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖












ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม